5 ข้อควรรู้ผ่อนรถยนต์แบบชิว ๆ ชีวิตไม่สะดุด


5 ข้อควรรู้ผ่อนรถยนต์แบบชิว ๆ ชีวิตไม่สะดุด


5 ข้อควรรู้ผ่อนรถยนต์แบบชิว ๆ ชีวิตไม่สะดุด

1. ก่อนผ่อนรถยนต์ ถ้าติด (แบล็กลิสต์) ต้องปิดก่อนนะ

สำหรับใครที่อยากเริ่มผ่อนรถยนต์ ก่อนจะเช็กสเปกรถที่ชอบ ต้องเริ่มเช็กประวัติตัวเราเองก่อน ว่ามีประวัติเสียหรือเปล่า ติดเครดิตบูโรที่ไหนไว้ไหม ตัวอย่างเช่น เคยผิดชำระหนี้บัตรเครดิตผิดชำระ O/D ผิดชำระหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล และอื่น ๆ ถ้ามีจะต้องทำเรื่องปิดให้เรียบร้อยก่อน มากไปกว่านั้นคือ ต้องทิ้งระยะเวลาให้นานเกิน 2 ปี ขึ้นไป ถึงจะเริ่มผ่อนรถได้ หากว่าอยากซื้อเลยต้องนำใบปิดไปยื่นกับไฟแนนซ์ จากนั้นวางวงเงินดาวน์ประมาณ 40% ขึ้นไป ซึ่งไฟแนนซ์จะพิจารณาเป็นกรณีไปขึ้นอยู่กับตัวบุคคล

2. เตรียมเอกสารการออกรถยนต์
กรณีไม่มีประวัติเสีย หรือปิดเรียบร้อย ก็สามารถเริ่มเตรียมเอกสารสำคัญได้เลย โดยที่ขอแยกชุดเอกสารไป จะเป็นสำหรับพนักงานประจำ อาชีพอิสระ ดังต่อไปนี้

พนักงานประจำ
*สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน อย่างละ 3 ใบ
*สลิปเงินเดือน (สลิปคาร์บอน) ย้อนหลัง 6 เดือน ถ้าหากไม่มีให้ใช้ใบรับรองเงินเดือน
*สมุดบัญชีเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน เพื่อที่จะดูความสามารถในการชำระหนี้
*หากไม่ค่อยได้อัปเดตสมุดบัญชี สามารถใช้ Statement (ย้อนหลัง 6 เดือน) ที่ขอจากธนาคารได้

อาชีพอิสระ (เช่น ค้าขาย)

*สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน อย่างละ 3 ใบ (เหมือนกับพนักงานประจำ)

*ใบเสร็จ ใบส่งของ หลักฐานการซื้อขายทุกรายการ เพื่อเก็บไว้ยื่นไฟแนนซ์ เอกสารยิ่งครบ ยิ่งผ่านง่ายนะบอกเลย

*รูปถ่ายหน้าร้าน พร้อมใบเสร็จค่าเช่าที่ หรือภาพเพจ Facebook, IG หากขายของทางออนไลน์

Statement หรือรายการเดินบัญชีย้อนหลัง 1 ปี เพื่อแสดงฐานรายได้ที่มั่นคง

3. ยอดดาวน์ (ยิ่งเยอะ ยิ่งดี)
ก่อนอื่นเลยมารู้จักเงินดาวน์กันก่อน เงินดาวน์ คือ เงินสดที่เรานำไปวางตอนซื้อรถ ซึ่งจะเป็นเงินส่วนแรกในการชำระค่ารถนั้น เมื่อหักลบกลบหนี้จากค่ารถแล้ว เหลือเท่าไหร่ไฟแนนซ์จะนำยอดเงินที่เหลือมาคูณเป็นเปอร์เซ็นต์ดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อนำมาคิดยอดผ่อนชำระที่เราจะต้องจ่ายต่อเดือน ซึ่งนั่นแปลว่า เงินดาวน์ยิ่งเยอะเท่าไหร่ ภาระในการผ่อนชำระในแต่ละเดือนยิ่งต่ำลง หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ "ดาวน์สูง - ผ่อนต่ำ แต่ถ้า ดาวน์ต่ำ - ผ่อนสูง"

4. เวลาผ่อนชำระ (ยิ่งน้อย ยิ่งส่งผลดี)

นอกเหนือไปจากจำนวนเงินดาวน์ อีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อจากการคิดดอกเบี้ย คือ จำนวนงวดผ่อนชำระ เมื่อยิ่งเราผ่อนนาน ดอกเบี้ยจะยิ่งสูง ซึ่งส่วนมากจำนวนงวดที่นิยมกันจะอยู่ที่ประมาณ 48 เดือน (ราว ๆ 4 ปี) หรือ 60 เดือน (ราว ๆ 5 ปี) ซึ่งถ้านานกว่านี้ดอกเบี้ยจะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องจ่ายเกินกว่าราคาจริงมากไปโดยใช่เหตุ

5. ประกันรถยนต์ (ภาคสมัครใจ ชั้น 1-5)

ถึงแม้กฎหมายจะไม่ได้บังคับให้รถยนต์ต้องมีประกันภัยภาคสมัครใจ เหมือนกับประกันภัยภาคบังคับ (พรบ.) แต่การทำสินเชื่อรถยนต์ทั้งใหม่และเก่า ไฟแนนซ์จะให้ลูกค้าทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ โดยพิจารณาจากอายุรถยนต์เป็นสำคัญ เช่น ถ้าทำสินเชื่อรถยนต์ใหม่ ในปีแรก ก็จะแจ้งให้ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจประเภท 1 ถึงจะสามารถอนุมัติสินเชื่อได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับผู้ออกรถทุกคน เนื่องจากความคุ้มครองของประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะมีความคุ้มครองรถยนต์ของผู้เอาประกัน กรณีเสียหาย สูญหาย หรือไฟไหม้ ตามประเภทของประกันภาคสมัครใจที่สมัครไป ซึ่งความคุ้มครองนี้ไม่มีอยู่ใน พรบ.

เครดิตแหล่งข้อมูล : krungsri


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์