รถใช้งาน กับรถจอดนาน อย่างไหนน่าซื้อกว่ากัน ?
ในเรื่องการเลือกซื้อรถคันใหม่แทนคันที่ใช้อยู่ ว่าหากไม่ได้มีเงินเหลือใช้ หรือมี "เงินว่าง" อยู่โดยไม่ต้องกังวล รถใช้แล้วแต่สภาพยังดีอยู่ เป็นทางเลือกที่ดีกว่ารถใหม่เสมอ และในตอนที่เลือกซื้อ ก็ไม่ต้องไปเฟ้นหารถที่ถูกใช้งานมาน้อยครับ เพราะระยะทางที่รถถูกใช้งานไป ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของรถ
สมมติว่าผมหาซื้อรถใช้แล้วคันหนึ่ง แล้วพบรถรุ่นเดียวกัน อายุก็เท่ากันด้วย คันหนึ่งถูกใช้งานมาแล้ว 160,000 กม. ส่วนอีกคันแค่ 120,000 กม. (สมมติว่าเป็นระยะทางจริงทั้งสองคัน) ไม่ได้หมายความว่าผมจะอยากได้คันหลังมากกว่าคันแรกเลยนะครับ เพราะมีสิ่งอื่นที่สำคัญกว่าอีก เช่น สภาพของรถทั้งภายนอก และภายใน สภาพอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องโดยสาร และห้องเครื่องยนต์ ล้วนสำคัญกว่าส่วนต่างของระยะทางเพียงแค่ 40,000 กม. และที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่งก็คือ การบำรุงรักษา
บุคคลเหล่านี้ล้วนเคยเล่าเรียนในประเทศอังกฤษ ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับรถยนต์จึงล้วนถอดแบบมาจากประเทศนี้ทั้งสิ้น การจราจรในประเทศของเราจึงเป็นแบบขับชิดซ้ายของถนน จนถึงทุกวันนี้ รถยนต์ที่ถูกจำหน่ายในประเทศไทยในยุคนั้น จึงต้องเป็นรถที่ถูกผลิตในประเทศอังกฤษ หรือหากถูกผลิตจากที่อื่น ก็ต้องเป็นรถสำหรับจำหน่ายในประเทศอังกฤษ (หรือประเทศเมืองขึ้น) เท่านั้น จึงจะมีพวงมาลัยอยู่ด้านขวา (เพื่อการขับชิดซ้าย) แน่นอนว่ามาตรวัดความเร็ว และระยะทาง ย่อมต้องใช้หน่วยเป็นไมล์ตามประเทศต้นตำรับ ทุกคำ หรือประโยค ที่เกี่ยวข้องกับระยะทาง และความเร็ว จึงมีคำว่าไมล์อยู่ด้วยเสมอ แม้ว่าปัจจุบันนี้จะถูกเปลี่ยนเป็น กม. แล้วก็ตาม เช่น กรอไมล์ เข็มไมล์ สายไมล์ (ในยุคใช้กลไก
กลับมาเรื่องเลขบอกระยะทางกันต่อครับ ถ้าเป็นรถที่ซื้อต่อมาจากคนสนิทที่ซื่อตรง ไว้ใจได้แน่นอน (ถึงเป็นเพื่อนกันผิวเผิน เวลาจะขายรถให้เรา ก็จะไป "กรอไมล์" ให้ตัวเลขต่ำกว่าจริง เพราะความโลภมันเข้มข้นกว่ามโนธรรม รวมกับความคิดเข้าข้างตนเองว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือเลวร้าย เพราะใครๆ ก็ทำเช่นนี้) หรือมีใบเสร็จการเข้ารับบริการทุกครั้ง (ที่น่าเชื่อว่า ไม่ใช่ของปลอม)
พูดอย่างเหมารวมก็ยังไม่ผิดครับ คือ ถ้าเป็นรถที่ซื้อมาจาก TENT รับรองว่าไม่มีแม้แต่คันเดียว ที่ไม่ถูกกรอเลขระยะทาง ใครที่ชื้อรถมาด้วยวิธีนี้ ไม่ต้องตกใจครับ เพราะรถเหล่านี้ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ และระบบส่งกำลัง มันทนทานกว่าที่พวกเราเชื่อกันเยอะ ถึงระยะทางที่มันถูกใช้งานมาจริงๆ จะมากกว่าตัวเลขที่มาตรวัดไปอีกเท่าตัว ก็ไม่เป็นไรหรอกครับ
สมมติว่าผมหาซื้อรถใช้แล้วคันหนึ่ง แล้วพบรถรุ่นเดียวกัน อายุก็เท่ากันด้วย คันหนึ่งถูกใช้งานมาแล้ว 160,000 กม. ส่วนอีกคันแค่ 120,000 กม. (สมมติว่าเป็นระยะทางจริงทั้งสองคัน) ไม่ได้หมายความว่าผมจะอยากได้คันหลังมากกว่าคันแรกเลยนะครับ เพราะมีสิ่งอื่นที่สำคัญกว่าอีก เช่น สภาพของรถทั้งภายนอก และภายใน สภาพอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องโดยสาร และห้องเครื่องยนต์ ล้วนสำคัญกว่าส่วนต่างของระยะทางเพียงแค่ 40,000 กม. และที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่งก็คือ การบำรุงรักษา
ผมขอแนะนำให้ผู้ที่ใช้รถใหม่ เก็บรวบรวมรักษาใบเสร็จรับเงิน จากการเข้าศูนย์บริการไว้ให้ครบทุกครั้งนะครับ เมื่อใดที่ต้องการขายรถนี้ จะช่วยให้ได้ราคาดีกว่าคันที่ไม่มีครับ ถ้าเป็นรถราคาสูง ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าได้เป็นแสนบาทเลย และยังขายออกไปได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ใบเสร็จเหล่านี้ หัวใจของมันไม่ใช่การยืนยันว่ารถของเราอยู่ในสภาพดีเท่านั้นนะครับ เพราะผู้ที่จะซื้อ และมีความรู้ด้านนี้เพียงพอ เขาสามารถประเมินจากการมอง และลองขับเอาก็ได้ ส่วนที่สำคัญกว่ามาก คือ การใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่า เลขบอกระยะทางที่มาตรวัดความเร็วของรถเรานั้น เป็นค่าจริง มิใช่ตัวเลขลวงโลกจากการโกง โดยการ "กรอ" ครับ เพราะในใบเสร็จจะมีค่าระยะทางที่รถถูกใช้งานไปแล้วเสมอ
ในสำนวนของนักค้ารถใช้แล้ว เรียกพฤติกรรมฉ้อโกงนี้ว่า การ "กรอไมล์" ครับ ผู้อ่านที่มีอายุไม่เกิน 40 กว่าปี คงจะสงสัยกันมานานแล้ว แต่หาคำตอบไม่ได้ว่า เหตุใดคนไทยเรา โดยเฉพาะนักค้ารถใช้แล้วทั้งหลาย จึงใช้กันแต่หน่วยระยะทางที่เป็นไมล์ ทั้งๆ ที่มาตรวัดระยะทาง และความเร็วของรถ ป้ายจราจร ข้อมูลจำเพาะของรถสมัยนี้ ล้วนมีหน่วยเป็น กม. ทั้งนั้นต้องมองวงการรถยนต์ของประเทศไทย ย้อนหลังไปสักเกือบร้อยปีครับ เป็นยุคที่อภิสิทธิ์ชนเท่านั้น ที่จะครอบครองรถยนต์ได้บุคคลเหล่านี้ล้วนเคยเล่าเรียนในประเทศอังกฤษ ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับรถยนต์จึงล้วนถอดแบบมาจากประเทศนี้ทั้งสิ้น การจราจรในประเทศของเราจึงเป็นแบบขับชิดซ้ายของถนน จนถึงทุกวันนี้ รถยนต์ที่ถูกจำหน่ายในประเทศไทยในยุคนั้น จึงต้องเป็นรถที่ถูกผลิตในประเทศอังกฤษ หรือหากถูกผลิตจากที่อื่น ก็ต้องเป็นรถสำหรับจำหน่ายในประเทศอังกฤษ (หรือประเทศเมืองขึ้น) เท่านั้น จึงจะมีพวงมาลัยอยู่ด้านขวา (เพื่อการขับชิดซ้าย) แน่นอนว่ามาตรวัดความเร็ว และระยะทาง ย่อมต้องใช้หน่วยเป็นไมล์ตามประเทศต้นตำรับ ทุกคำ หรือประโยค ที่เกี่ยวข้องกับระยะทาง และความเร็ว จึงมีคำว่าไมล์อยู่ด้วยเสมอ แม้ว่าปัจจุบันนี้จะถูกเปลี่ยนเป็น กม. แล้วก็ตาม เช่น กรอไมล์ เข็มไมล์ สายไมล์ (ในยุคใช้กลไก
กลับมาเรื่องเลขบอกระยะทางกันต่อครับ ถ้าเป็นรถที่ซื้อต่อมาจากคนสนิทที่ซื่อตรง ไว้ใจได้แน่นอน (ถึงเป็นเพื่อนกันผิวเผิน เวลาจะขายรถให้เรา ก็จะไป "กรอไมล์" ให้ตัวเลขต่ำกว่าจริง เพราะความโลภมันเข้มข้นกว่ามโนธรรม รวมกับความคิดเข้าข้างตนเองว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือเลวร้าย เพราะใครๆ ก็ทำเช่นนี้) หรือมีใบเสร็จการเข้ารับบริการทุกครั้ง (ที่น่าเชื่อว่า ไม่ใช่ของปลอม)
พูดอย่างเหมารวมก็ยังไม่ผิดครับ คือ ถ้าเป็นรถที่ซื้อมาจาก TENT รับรองว่าไม่มีแม้แต่คันเดียว ที่ไม่ถูกกรอเลขระยะทาง ใครที่ชื้อรถมาด้วยวิธีนี้ ไม่ต้องตกใจครับ เพราะรถเหล่านี้ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ และระบบส่งกำลัง มันทนทานกว่าที่พวกเราเชื่อกันเยอะ ถึงระยะทางที่มันถูกใช้งานมาจริงๆ จะมากกว่าตัวเลขที่มาตรวัดไปอีกเท่าตัว ก็ไม่เป็นไรหรอกครับ
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!