ความแตกต่างระหว่าง ผู้กู้ร่วม กับ ผู้ค้ำประกัน ซื้อรถ
ความแตกต่างระหว่าง ผู้กู้ร่วม กับ ผู้ค้ำประกัน ซื้อรถ ทั้งสองอย่างนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในการหา ผู้กู้ร่วม หรือผู้ค้ำประกันซื้อรถมือสอง
ความแตกต่างระหว่าง ผู้กู้ร่วม กับ ผู้ค้ำประกัน ซื้อรถ
ผู้กู้ร่วม
การกู้ร่วม คือ การที่มีผู้กู้เพิ่มเข้ามากู้ขอสินเชื่อร่วมกับคุณ โดยในกรณีนี้ ก็จะถือว่า ผู้กู้ร่วมและคุณเป็นคนๆ เดียวกัน พร้อมทั้งเป็นลูกหนี้ร่วมด้วย ซึ่งจะทำมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะได้รับการอนุมัติจากสถาบันการเงิน เนื่องจากสถาบันการเงินจะนำข้อมูลทางการเงินไม่ว่าจะเป็นรายได้ และภาระหนี้สินของผู้กู้ร่วมมาช่วยพิจารณาด้วย
ความแตกต่างระหว่าง ผู้กู้ร่วม กับ ผู้ค้ำประกัน ซื้อรถ
ผู้กู้ร่วม
การกู้ร่วม คือ การที่มีผู้กู้เพิ่มเข้ามากู้ขอสินเชื่อร่วมกับคุณ โดยในกรณีนี้ ก็จะถือว่า ผู้กู้ร่วมและคุณเป็นคนๆ เดียวกัน พร้อมทั้งเป็นลูกหนี้ร่วมด้วย ซึ่งจะทำมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะได้รับการอนุมัติจากสถาบันการเงิน เนื่องจากสถาบันการเงินจะนำข้อมูลทางการเงินไม่ว่าจะเป็นรายได้ และภาระหนี้สินของผู้กู้ร่วมมาช่วยพิจารณาด้วย
ผู้ค้ำประกัน
ผู้ค้ำประกัน คือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยที่จะไม่ได้มีสถานะเป็นลูกหนี้ แต่จะมีสถานะเป็นผู้ยืนยันว่าผู้กู้จะไม่เบี้ยวหนี้ ซึ่งหากผู้กู้มีการเบี้ยวหนี้สิน ไม่ชำระหนี้จนเกินกำหนด ทางสถาบันการเงินมีสิทธิที่จะเรียกเก็บหนี้สินจากผู้ค้ำประกันแทน เพราะการค้ำประกันนั้นถือว่าเป็นการสัญญาว่าจะชำระหนี้คืนแทน หากลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้คืนตามเวลาที่กำหนด
ความแตกต่างของผู้ค้ำประกัน กับ ผู้กู้ร่วม
ผู้ค้ำประกัน กับผู้กู้ร่วมจะเป็นใครก็ได้สามารถมาเป็นคนค้ำประกันได้หมด แต่ผู้กู้ร่วมจะต้องเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกันเท่านั้น เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หรือคนที่มีนามสกุลเดียวกัน
ผู้กู้ร่วมมีความจำเป็นในกรณีต่อไปนี้
-ผู้กู้หลักมีรายได้น้อย ฐานเงินเดือนไม่พอต่อการผ่อนชำระค่างวด
-ผู้กู้หลักมีรายได้สูง แต่มีภาระการใช้จ่ายหรือมีภาระหนี้เยอะ
-ข้าราชการบำนาญ
คุณสมบัติของผู้กู้ร่วม
-เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
-มีความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับผู้กู้หลัก เช่น พ่อแม่ลูก สามีภรรยา หรือพี่น้องสายเลือดเดียวกัน
-ในกรณีสามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามารถนำหลักฐานการแต่งงานมายืนยันได้
-ในกรณีที่มีบุตร แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็สามารถนำสูติบัตรของบุตรมาเป็นหลักฐานได้เช่นกัน
ผู้ค้ำประกัน มีความจำเป็นในกรณีต่อไปนี้
-ผู้กู้อายุน้อย ไม่เคยมีประวัติด้านการขอสินเชื่อมาก่อน
-ผู้กู้มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี
-วางเงินดาวน์รถค่อนข้างต่ำ
คุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน
-เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
-ผู้ค้ำประกันเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ในครอบครัว
-เป็นบุคคลที่มีอาชีพและรายได้มั่นคง
-มีที่อยู่อาศัยที่สามารถติดต่อได้แน่นอน
-ไม่มีประวัติค้างชำระ หรือไม่มีประวัติเสียหายทางด้านการเงิน
หากใครมีความจำในการซื้อรถมือสอง ต้องพิจารณาการใช้บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งผู้กู้ร่วม และผู้ค้ำประกันให้เลือกดีๆ เพราะถ้าเราไม่มีวินัยในการชำระหนี้ ภาระก็จะตกไปอยู่กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง จะทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ ส่วนสถาบันการเงินจะพิจารณาให้ผ่านการกู้ซื้อหรือไม่ขึ้นกับเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนด
เครดิตแหล่งข้อมูล :MoneyGuru ,masii,โตโยต้า ลีสซิ่ง
ผู้ค้ำประกัน คือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยที่จะไม่ได้มีสถานะเป็นลูกหนี้ แต่จะมีสถานะเป็นผู้ยืนยันว่าผู้กู้จะไม่เบี้ยวหนี้ ซึ่งหากผู้กู้มีการเบี้ยวหนี้สิน ไม่ชำระหนี้จนเกินกำหนด ทางสถาบันการเงินมีสิทธิที่จะเรียกเก็บหนี้สินจากผู้ค้ำประกันแทน เพราะการค้ำประกันนั้นถือว่าเป็นการสัญญาว่าจะชำระหนี้คืนแทน หากลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้คืนตามเวลาที่กำหนด
ความแตกต่างของผู้ค้ำประกัน กับ ผู้กู้ร่วม
ผู้ค้ำประกัน กับผู้กู้ร่วมจะเป็นใครก็ได้สามารถมาเป็นคนค้ำประกันได้หมด แต่ผู้กู้ร่วมจะต้องเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกันเท่านั้น เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หรือคนที่มีนามสกุลเดียวกัน
ผู้กู้ร่วมมีความจำเป็นในกรณีต่อไปนี้
-ผู้กู้หลักมีรายได้น้อย ฐานเงินเดือนไม่พอต่อการผ่อนชำระค่างวด
-ผู้กู้หลักมีรายได้สูง แต่มีภาระการใช้จ่ายหรือมีภาระหนี้เยอะ
-ข้าราชการบำนาญ
คุณสมบัติของผู้กู้ร่วม
-เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
-มีความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับผู้กู้หลัก เช่น พ่อแม่ลูก สามีภรรยา หรือพี่น้องสายเลือดเดียวกัน
-ในกรณีสามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามารถนำหลักฐานการแต่งงานมายืนยันได้
-ในกรณีที่มีบุตร แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็สามารถนำสูติบัตรของบุตรมาเป็นหลักฐานได้เช่นกัน
ผู้ค้ำประกัน มีความจำเป็นในกรณีต่อไปนี้
-ผู้กู้อายุน้อย ไม่เคยมีประวัติด้านการขอสินเชื่อมาก่อน
-ผู้กู้มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี
-วางเงินดาวน์รถค่อนข้างต่ำ
คุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน
-เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
-ผู้ค้ำประกันเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ในครอบครัว
-เป็นบุคคลที่มีอาชีพและรายได้มั่นคง
-มีที่อยู่อาศัยที่สามารถติดต่อได้แน่นอน
-ไม่มีประวัติค้างชำระ หรือไม่มีประวัติเสียหายทางด้านการเงิน
หากใครมีความจำในการซื้อรถมือสอง ต้องพิจารณาการใช้บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งผู้กู้ร่วม และผู้ค้ำประกันให้เลือกดีๆ เพราะถ้าเราไม่มีวินัยในการชำระหนี้ ภาระก็จะตกไปอยู่กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง จะทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ ส่วนสถาบันการเงินจะพิจารณาให้ผ่านการกู้ซื้อหรือไม่ขึ้นกับเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนด
เครดิตแหล่งข้อมูล :MoneyGuru ,masii,โตโยต้า ลีสซิ่ง
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!