เคลียร์ชัด! พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์คุ้มครองอะไรบ้าง?


เคลียร์ชัด! พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์คุ้มครองอะไรบ้าง?


   ใครที่มีรถมอเตอร์ไซค์ ก็น่าจะคุ้นเคยหรือรู้จักเป็นอย่างดีกับ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ แต่สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจหรือเป็นมือใหม่เพิ่งได้รถมอเตอร์ไซค์ หรือเพิ่งหัดขับ ก็อาจจะยังข้องใจว่าการมี พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ จะช่วยคุ้มครองอะไรคุณบ้าง และทำไมรถมอเตอร์ไซค์ทุกคันจำเป็นต้องมี พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ เราขอคุณไปหาคำตอบพร้อมกัน!

พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ สำคัญอย่างไร?

    พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ เปรียบเสมือนการทำประกันภัยชนิดหนึ่งที่คุณสามารถใช้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้โดยจะอยู่ในความคุ้มครองและการดูแลของบริษัทกลางที่คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมอเตอร์ไซค์นั่นเอง โดย พ.ร.บ. นี้จะให้ความคุ้มครองแก่ตัวบุคคลเท่านั้น ไม่รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวรถมอเตอร์ไซค์ หรือรถคันอื่นๆที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั่นเอง

หากไม่ต่อ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ จะมีความผิดหรือไม่?

   หากคุณเป็นเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์ หรือขับขี่มอเตอร์ไซค์โดยไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. หากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียก ก็จะถือว่ามีความผิดและอาจต้องจ่ายค่าปรับไม่เกิน 10,000 ต่อครั้งอีกด้วย นอกจากนี้ หากคุณต่อ พ.ร.บ. เรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่แสดงเครื่องหมายหรือติดป้ายสี่เหลี่ยมที่เป็นของ พ.ร.บ. ชัดเจน ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้ง

คุณสามารถเบิกความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ได้อย่างไรบ้าง?

   * สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามค่าใช้จ่ายจริง โดยอยู่ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
 
  * หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชยที่อยู่ในวงเงินไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน
 
  * หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะตามมาภายหลังจากการเข้ารับการรักษา จะได้รับเงินชดเชยที่อยู่ในวงเงินไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

    ทั้งนี้ พ.ร.บ. ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิดก็ตามที่จะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มครองรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทุกกรณี รวมไปถึงเงินชดเชยในกรณีที่เกิดการทุพพลภาพ

หรือสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตอีกด้วย นอกจากนี้ นอกจากการทำ พรบ เพื่อคุ้มครองตัวคุณในฐานะผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์แล้วเราขอแนะนำให้คุณขับขี่อย่างปลอดภัยทุกครั้ง รวมไปถึงการสวมหมวกกันน็อกทุกครั้งที่ขับขี่ และใช้ความเร็วตามที่กฏหมายกำหนด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อทั้งตัวคุณ ตัวรถ ทรัพย์สินของคุณและผู้อื่น รวมไปถึงบุคคลที่ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ อีกด้วย


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์